วันนี้ (3 กุมภาพันธ์ 2566) เวลา 13.00 น. นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมคณะ ลงพื้นที่จังหวัดลำพูนเพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ กฎหมาย JSOC ให้กับเครือข่ายอาสาสมัครคุมประพฤติจังหวัดลำพูน โดยมี นายโยธิน ประสงค์ความดี ปลัดจังหวัดลำพูน นางพุทธิชาต ดอกไม้ไฟ ยุติธรรมจังหวัดลำพูน นางสาววลัยลักษณ์ ชุ่มชื่น ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดลำพูน ข้าราชการ เจ้าหน้าที่เครือข่ายและอาสาสมัครคุมประพฤติร่วมต้อนรับ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกล่าวว่า เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2566 ที่ผ่านมาศาลจังหวัดลำพูนมีคำสั่งกำหนดใช้มาตรการเฝ้าระวังติดกำไล EM นักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษตามพระราชบัญญัติมาตรการ ป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 จำนวน 1 ราย พบประวัติและพฤติกรรมเสี่ยงกระทำความผิดซ้ำสูง ภายหลังคณะกรรมการพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำได้เสนอรายงานและความเห็นต่อพนักงานอัยการจังหวัดลำพูนใช้มาตรการเฝ้าระวังตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 เพื่อพิจารณายื่นคำร้องต่อศาลให้กำหนดมาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดรายหนึ่งที่ครบกำหนดพ้นโทษออกจากเรือนจำจังหวัดลำพูน ในวันที่ 28 มกราคม 2566 เพื่อป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ หลังพบประวัติเคยกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสและกระทำความผิดฐานอื่น โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการเมาสุรา รวมทั้งมีอาการทางจิต ซึ่งเคยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง อีกทั้งขณะจำคุกยังเคยก่อเหตุทำร้ายร่างกายนักโทษคนอื่น ล่าสุด ศาลจังหวัดลำพูนจึงมีคำสั่งกำหนดมาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดรายดังกล่าวภายหลังพ้นโทษให้อยู่ภายใต้การดูแลของพนักงานคุมประพฤติและกำหนดมาตรการต่างๆ ประกอบด้วย การห้ามเข้าใกล้ผู้เสียหายและครอบครัวเป็นเวลา 1 ปี นับแต่วันปล่อยตัว , ห้ามออกนอกประเทศเป็นเวลา 1 ปี นับแต่วันได้รับการปล่อยตัว
และห้ามก่ออันตรายในละแวกชุมชนที่พักอาศัยนอกจากนี้เมื่อได้รับการปล่อยตัวให้พักอาศัยที่บ้านเป็นเวลา 1 ปี นับแต่วันได้รับการปล่อยตัว
และรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติเป็นเวลา 1 ปี ตามวันและเวลาที่พนักงานคุมประพฤติกำหนด,ให้มาพบหรือรับการตรวจรักษาจากแพทย์หรือแพทย์ที่พนักงานคุมประพฤติกำหนดเป็นเวลา 1 ปี โดยให้เข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องที่โรงพยาบาลหรือแพทย์อนุญาตให้เข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลตามสิทธิ และให้รายงานผลการรักษาทางการแพทย์ต่อพนักงานคุมประพฤติอย่างต่อเนื่อง, แจ้งพนักงานคุมประพฤติทราบถึงการเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงานเป็นเวลา 1 ปี นับแต่วันพ้นโทษ และ
สุดท้าย ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวเป็นเวลา 1 ปี นับแต่วันพ้นโทษ เพื่อติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานคุมประพฤติตามคำสั่งของศาลอย่างใกล้ชิด ขณะนี้ ได้ติดกำไล EM ให้นักโทษเด็ดขาดรายดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้ประสานทางโทรศัพท์แจ้งให้ผู้เสียหายทราบแล้ว เพื่อให้ผู้เสียหายได้ทราบว่าผู้ที่เคยก่อเหตุพ้นโทษจากเรือนจำแล้ว เป็นการแจ้งเตือนเพื่อป้องกันอีกทางหนึ่ง โดยพนักงานคุมประพฤติได้กำหนดรัศมีในการห้ามเข้าใกล้บ้านของผู้เสียหายในรัศมี 1 กิโลเมตร หากผู้พ้นโทษเข้าไปในระยะดังกล่าวกำไล EM จะสั่นเตือนให้เจ้าตัวทราบ อีกทั้งแจ้งเตือนไปยังศูนย์ Jsoc และพนักงานคุมประพฤติในพื้นที่ให้ทราบโดยทันที ซึ่งสามารถประสานหน่วยงานภาคีเครือข่ายช่วยกันป้องกันเหตุให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อความปลอดภัยของผู้เสียและสังคม นอกจากนี้ พนักงานคุมประพฤติ จะต้องทำรายงานการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษเสนอศาลทุก 6 เดือนต่อไป
ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ให้ความสำคัญกับการใช้มาตรการต่างๆ โดยเฉพาะการใส่กำไล EM กับบุคคลพ้นโทษตามกฎหมายฉบับนี้อย่างเคร่งครัด เพื่อให้สังคมมีความปลอดภัยมากขึ้น ทั้งนี้ ทุกคนสามารถช่วยกันเป็นหูเป็นตาสอดส่อง เฝ้าระวังการก่ออาชญากรรม เพื่อช่วยสร้างความปลอดภัยแก่พี่น้องประชาชนได้อีกทางหนึ่ง
วันที่ 15 ม.ค. 2568, 09:55
สสน. เข้าพบ รองผู้ว่าฯลำพูน หารือนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยริมแม่น้ำกวงในพื้นที่จังหวัดล...
วันที่ 15 ม.ค. 2568, 09:53
ผู้ว่าฯ ลำพูน นำพสกนิกรทุกหมู่เหล่าร่วมพิธีทางศาสนามหามงคล ถวายพระราชกุศลเฉลิมพระเกีย...
วันที่ 13 ม.ค. 2568, 16:07
ลำพูน เดินหน้าเชิงรุกป้องกันภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้น ล่าสุด เตรียมลงพื...
วันที่ 13 ม.ค. 2568, 15:51
นายอำเภอเมืองลำพูน ส่งทีมลงพื้นที่แจ้งเตือนห้ามเผาในที่โล่งหากฝ่าฝืนจะต้องดำเนินคดี...