วันนี้(23 สิหาคม 2563) ที่ ศาลากลางจังหวัดลำพูน นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน พร้อมด้วย นายสำเริง ไชยเสน , นายวรยุทธ เนาวรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ปลัดจังหวัดลำพูน นายอำเภอทุกอำเภอ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลำพูน ผู้อำนวยการโครงการชลประทานลำพูน หัวหน้าส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ (Video Conference) ติดตามสถานการณ์ และการช่วยเหลือประชาชนจากสถานการณ์อุทกภัย วาตภัยและดินโคลนถล่มในพื้นที่จังหวัดลำพูน
ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เผยว่า จากการติดตามสภาพอากาศร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยาพบว่า ในหลายพื้นที่ได้เกิดสถานการณ์อุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม ก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ตลอดจนทรัพย์สินของประชาชนเป็นอย่างมาก เพื่อให้เป็นการรับมือผลกระทบจากสถานการณ์ข้างต้น เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ จึงได้กำชับให้ทุกจังหวัดดำเนินการตามแนวทางแผนเผชิญเหตุ ประกอบด้วย 1. การแจ้งเตือนภัยในพื้นที่ ให้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศ ปริมาณฝน ระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นตามแหล่งน้ำธรรมชาติ แหล่งกักเก็บน้ำขนาดต่าง ๆ รวมถึงวิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ แนวโน้ม และแจ้งเตือนให้อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งแจ้งเตือนให้ประชาชนในระดับชุมชน หมู่บ้าน ทราบถึงแนวทางการปฏิบัติตนอย่างปลอดภัยและช่องทางการรับความช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง
2. การตรวจสอบและเสริมความมั่นคงแข็งแรงเชิงโครงสร้างให้กับคันกั้นน้ำ โดยเฉพาะในพื้นที่ชุมชน พื้นที่เขตเศรษฐกิจสำคัญ และสำหรับอ่างเก็บน้ำที่มีน้ำไหลเข้าในปริมาณมาก ให้มอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบ ร่วมกับหน่วยงาน สถาบันการศึกษา ส่งบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในเชิงโครงสร้างร่วมตรวจสอบความแข็งแรง พร้อมทั้งหาทางปรับปรุงแก้ไขหากพบความผิดปกติโดยเร่งด่วน
3. การปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือประชาชน ให้ดำเนินการตามระบบบัญชาการเหตุการณ์ โดยแบ่งมอบพื้นที่ กำหนดภารกิจ และหน่วยปฏิบัติการในการให้ความช่วยเหลือประชาชน ตลอดจนภารกิจในการซ่อมสร้างเพื่อฟื้นฟูกลับสู่ภาวะปกติให้ชัดเจน ดังนี้ 1). ให้มีการประเมินสถานการณ์ครอบคลุมทุกมิติ หากพิจารณาแล้วเห็นว่าพื้นที่มีความเสี่ยงเกิดสถานการณ์อุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม ให้แจ้งเตือนและประกาศให้ประชาชนรับรู้จุดปลอดภัยที่ชัดเจน หรือทำการอพยพประชาชนไปยังจุดปลอดภัยที่กำหนด สำหรับพื้นที่ชุมชนที่มีพื้นที่ติดแม่น้ำ คลอง หรือพื้นที่ที่เป็นเส้นทางน้ำไหลผ่าน ตลอดจนพื้นที่ที่มีความเสี่ยงให้จัดกำลังพล อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรกลสาธารณภัย เข้าช่วยเหลือประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ อาทิ การจัดเรือท้องแบน รถยกสูงเพื่อช่วยอพยพประชาชนออกจากพื้นที่เสี่ยง หรือช่วยอำนวยความสะดวกประชาชนในการสัญจร การช่วยเหลือประชาชนยกสิ่งของขึ้นที่สูง การจัดระบบดูแลประชาชนอพยพให้มีสิ่งของจำเป็นในการดำรงชีพ การแจกจ่ายถุงยังชีพตามวงรอบ การจัดตั้งโรงครัวพระราชทานเพื่อประกอบเลี้ยง ให้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ 2). เส้นทางคมนาคมที่ได้รับผกระทบ ให้จัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก ติดตั้งป้ายเตือน ป้ายแนะนำเส้นทางเบี่ยงบริเวณเส้นทางคมนาคมที่มีน้ำท่วมขัง และห้ามผ่านในเส้นทางที่เกิดน้ำหลากหรือน้ำท่วมขังสูงโดยเด็ดขาด 3). ให้ความสำคัญกับการเร่งแก้ไขบัญหาในพื้นที่ที่เกิดอุทกภัยซ้ำ โดยบูรณาการฝ่ายปกครอง ท้องถิ่น ท้องที่ หน่วยทหาร ตำรวจ หน่วยงานด้านสาธารณสุข ประชาชนจิตอาสา ในการให้ความช่วยเหลือประชาชนตามแผนเผชิญเหตุ และเร่งพื้นฟู เยียวยาจิตใจผู้ประสบภัยที่ได้รับผลกระทบซ้ำ
4. เมื่อสถานการณ์ในพื้นที่คลี่คลายแล้ว ให้เร่งสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ อาทิ ผู้เสียชีวิต ที่อยู่อาศัย พื้นที่การเกษตร สิ่งสาธารณประโยชน์ สิ่งสาธารณูปโภค เป็นต้น เพื่อให้ความช่วยเหลือ และดำเนินการพื้นฟูตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
5. ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ สรุปสถานการณ์ และรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบ ผ่านกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลางอย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ หรือจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
วันที่ 1 พ.ย. 2567, 09:49
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้พัฒนาแอปพลิเคชั่น "จันทรา" เพื่อเป็นช่องทางใ...
วันที่ 24 ต.ค. 2567, 15:28
จังหวัดลำพูน จัดกิจกรรมพิธีพวงมาลา วันปิยมหาราช เนื่อ...
วันที่ 17 ต.ค. 2567, 09:43
จังหวัดลำพูน จัดพิธีวางพวงมาลา เนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช&r...
วันที่ 17 ต.ค. 2567, 09:40
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจ...