ประวัติ : สมัยพุทธกาล เมื่อครั้งองค์สมเด็จพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์ชีพอยู่ได้ทรงจาริกไปยังถิ่นต่างๆ เพื่อประกาศเทศนาธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ ในการเสด็จจาริก ครั้งนั้นพระอินทร์และเหล่าเทพยดาได้ตามเสด็จมาด้วย หลังจากเสด็จยังดอยจอมทองและดอยน้อย (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่) แล้วได้เสด็จมายังถิ่นอาศัยทำมาหากินในทาง ทำไรของชนชาวลัวะได้ทรงพยากรณ์ว่าต่อไป ในภายภาคหน้าถิ่นนี้จะเป็นนครใหม่ที่รุ่งเรืองทางพุทธศาสนา มีนามว่าหริภุญชัยนคร ณ บริเวณที่ทรงประทับพัก ในขณะนั้นมีชาวลัวะผู้หนึ่งชื่อ เม็งคะบุตร ซึ่งกําลัง.สาละวนอยู่กับการทำไร่ เหลือบไปเห็นพระพุทธองค์เสด็จมาก็เกิดความเกรง กลัวจึงลุกขึ้นวิ่งหนีไป แต่เมื่อลัวะ เม็งคะบุตร ทราบว่านี่คือ สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงเสด็จมาโปรดเวไนยสัตว์ เม็งคะบุตร จึงกลับไปยังที่เดิมเมื่อเม็งคะบุตรกลับไปแล้ว ประชาชนในแถบใกล้เคียงได้ทราบข่าวการเสด็จมาของพระพุทธองค์จึงชวนกันมาฟังสัจธรรม เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมฟอกจิตใจของเม็งคะบุตร และประชาชนมาฟังในที่นั้นตามสมควรแล้ว พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงอานิสงส์ของการก่อสร้างพระพุทธรูปให้ฟังอีก จนทุกคนในที่นั้นเกิดความเลื่อมใสครั้นเมื่อพระพุทธองค์แสดงอานิสงส์จบลง พระอินทร์ซึ่งเป็นประธานในที่นั้น จึงกราบบังคมทูล ขอพุทธเกศาธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อประดิษฐานไว้ ณ ที่ตรงนั้น เพื่อให้เป็นที่เคารพสักการะของอนุชนรุ่นหลังต่อไปในภายภาคหน้า ในเมื่อพระอินทร์มีความประสงค์เช่นนั้น พระพุทธองค์ก็มิทรงขัดพระหฤทัย จึงทรงประทานพระเกศา
ส่วนหนึ่งได้ร่วมกับเม็งคะบุตรและคหบดีเศรษฐีที่อาศัยอยู่ถิ่นนั้น ได้พากันขุดอุโมงค์และก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่ ต่อมาจึงนำ พระพุทธเกศาใส่ในผอบแก้ว ช้อนทองคำ นาค เงิน และใส่ลงในโกฏิเงินอีกครา บรรจุลงในอุโมงค์ ที่วางปูด้วยศิลาเงิน นาค และทองคำทั้งสามทิศ ในเวลาเดียวกันนั้นคหบดีและ ประชาชนแถบนั้นก็ได้นำเอาของมีค่าต่างๆ นำมาบรรจุลงในอุโมงค์ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ด้วยเสร็จ แล้วก็ช่วยกันปิดปากอุโมงค์ด้วยแผ่นทองคำ นาค เงิน และท้ายสุดคือศิลา เพื่อกันมิให้ผู้ร้ายทำลายและลักขโมยต่อมาพญานาค มาพบเห็นอุโมงค์บรรจุพระพุทธเกศา และเกรงว่าจะถูกทำร้ายให้ได้รับอันตราย จึงลงไปยังชั้นบาดาลแล้วนำศิลาหินอันใหญ่มาปิดปากอุโมงค์ไว้อีกชั้นหนึ่ง
โดยพระเจ้าแม่จามเทวีทรงโปรดให้เจ้ามหันตยศราชโอรสองค์แรก (ผู้ครองนครหริภุญชัย สืบต่อพระองค์) เป็นผู้อันเชิญพระพุทธเกศาธาตุลงในถ้าที่สร้างไว้และทรงให้เจ้าอนันตยศ (ผู้สร้างเขลางค์นคร) เป็นผู้อันเชิญเครื่องบูชา อันมีแก้ว แหวน เงิน ทอง ดอกเงิน ดอกคำ รูป ช้าง ม้า วัว ควาย (เป็นทองคำ) ขนาดเท่ากำปั้น ถาดเงิน ถาดคำ ทั้งหมดจำนวนหนึ่งลำล้อ เมื่อทุกอย่างสำเร็จลุล่วงไปแล้ว พระแม่เจ้าจามเทวี พระเจ้ามหันตยศ และพระเจ้าอนันตยศ มีความคิดเห็นตรงกันว่าสมควรที่จะสร้างพระพุทธรูปไว้ที่ปากเพื่อเป็นเครื่องหมายและเพื่อให้ ผู้คนสมัยนั้นได้กราบไหว้บูชาเพื่อเป็นสิริมงคล และสืบอายุพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองสืบไป
ขันตะคะ เมื่อรู้ความประสงค์ของพระแม่เจ้าจามเทวีและพระโอรสทั้งสองแล้ว ก็ปีติยินดี และเห็นด้วยที่ จะสร้างพระพุทธรูป จึงชวนชาวบ้านในถิ่นนั้นมาร่วมกันกันดำเนินการ ก่อสร้าง พระพุทธรูป โดยมีพระแม่เจ้าจามเทวีพระเจ้ามหันตยศ และพระเจ้าอนันตยศ เป็นประธานก่อสร้างและบริจาคก้อนอิฐ (ดินกี่) สำหรับสร้างพระพุทธรูปและทองปิดองค์พระเป็นจำนวนมาก พระเจ้ามหันตยศทรง เป็นผู้ดูแลการก่อสร้างด้วยพระองค์เอง และมีชาวบ้านมาช่วยกันสร้าง
พระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางนั่งขัดสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 13 ศอก สูง 18 ศอก โดยสร้างครอบ อุโมงค์ที่บรรจุพระเกศาธาตุ (อุโมงค์ดังกล่าวอยู่ใต้พื้นพระพุทธรูปปัจจุบันนี้) เมื่อทำการก่อสร้าง พระพุทธรูปจนถึงพระศอ ตอนแรกผู้ร่วมก่อสร้างก็มีความคิดเห็นเหมือนกัน แต่เมื่อถึง ส่วนพระ พักตร์ของพระพุทธรูป ต่างมีความเห็นต่างกันออกไปว่าจะเอาแบบใด รูปใดต่างไม่มีความลงรอยกัน และยังไม่มีช่างผู้ใดได้ที่จะมาทำพระพักตร์ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ทำได้ยากพอสมควร ความเห็นอัน แตกต่างนี้ได้เข้าไปในวิถีญาณของพระอินทร์ ที่ประทับอยู่ในแดนทิพย์แดนธรรม พระอินทร์ทรง เห็นว่าคงไม่ดีแน่จึงอธิษฐานจิตลงมายังโลกมนุษย์ โดยแปลงร่างเป็น “ชีปะขาว” เดินเข้าไปหา กลุ่มคนเหล่านั้น ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีใครทราบชีปะขาวนี้มาจากไหน เมื่อมาถึงสถานที่ก่อสร้างพระพุทธรูปชีปะขาวจึงอาสาทำพระพักตร์ของพระพุทธรูปองค์นี้ให้เมื่อตกลงกัน เป็นที่เรียบร้อยแล้วชีปะขาวคนนั้นจึงได้ ลงมือทำพระพักตร์เอง เมื่อทำพระพักตร์เสร็จ ปรากฏเป็นพระพุทธรูปที่มีพระพักตร์ที่สวยงาม แต่ยังขาดแก้วในพระเนตรที่จะบรรจุ เป็นพระเนตรของพระพุทธรูปที่สร้างใหม่ ชีปะขาวที่รับอาสาทำพระพักตร์จึงรับอาสาที่จะหาแก้ว มาใส่บรรจุไว้ในพระเนตรในวันรุ่งขึ้นชีปะขาว ก็ได้นำแก้วมรกตสีเขียวทึบ (เป็นแก้วมรกตมณีนิลจากแดนทิพย์ของพระอินทร์)
จํานวน 2 ลูกมาบรรจุเป็นนัยน์ตาของพระเนตรของพระพุทธรูปองค์นั้น เมื่อบรรจุลงไปแล้วดูสดสวยยิ่งนัก สร้างความฉงนสนเทห์แก่บรรดาผู้คนที่ได้พบเห็นเป็นอันมาก และสร้างอุโมงค์ครอบองค์พระพุทธรูปอีกครั้ง
ด้วยเหตุนี้ ประชาชนในแถบนั้นจึงได้ขนานพระนามพระพุทธรูปเป็นภาษาสามัญและพื้นเมืองว่า “พระเจ้าตาเขียว” หรือเรียกตามราชาศัพท์ว่า “พระพุทธปฏิมาพระเนตรเขียว” การสร้างพระพุทธรูปนี้เริ่มสร้างเมื่อเดือนขึ้น 8 ค่ำ พ.ศ. 1235 เสร็จสมบูรณ์ เดือนยี่แรม 5 ค่ำ ปีพ.ศ. 1235 และเมื่อสร้างองค์พระพุทธรูปบรรจุพระเนตร แก่เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงประชุมตกลงกัน ทำบุญฉลองสมโภชพระพุทธรูป โดยนิมนต์พระเถระทรงคุณวุฒิมาเจริญพระพุทธมนต์ มีพระแม่เจ้าจามเทวี พระเจ้ามหันตยศและพระเจ้าอนันตยศ เป็นประธาน และมีการจุดบ้องไฟขนาดต่างๆ เป็นพุทธบูชาเป็นจํานวนมาก ประมาณได้ 108 กระบอกในระยะต่อมาสถานที่ก่อสร้างพระพุทธรูปเจ้า พระเนตรเขียวจึงได้กลายเป็นวัดขึ้น เรียกว่า “วัดพระเจ้า ตาเขียว” ปรากฏว่าเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองมากในสมัยนั้น และเจริญต่อมาเป็นกาลอันยาวนาน
โรงแรมบ้านหละปูนจัดเป็นโรงแรมขนาดเล็ก แต่มีความทันสมัย มีจำนวนห้องพัก 9 ห้อง เป็นห้อง Superior 6 ห้อง ห้อง Deluxe 3 ห้...
เชิญสัมผัสบริการที่ประทับใจ ด้วยมิตรภาพอันอบอุ่น กับห้องพักสไตล์ Boutique ในราคาพิเศษ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก และบริการท...
เคเค การ์เดน เซอร์วิส อพาร์ตเมนต์ เป็นที่พักอันยอดเยี่ยมสำหรับผู้ไปเยือนลำพูน ไม่ว่าจะเพื่อพักผ่อนท่องเที่ยวหรือติดต่อธุ...
ฮือนดาหลา รีสอร์ท เป็นสถานที่พักอันลงตัวสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการดื่มด่ำกับสีสันของลำพูนอย่างเต็มที่ จากที่พัก ท่านส...