เลือกภาษา ::
จังหวัดลำพูน ร่วมกับ คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา จัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU) สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และเสริมสร้างการเท่าทันสื่อสำหรับเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน
ข่าวสารจังหวัด วันที่ 20 ธ.ค. 2565, 17:06

                วันที่ 20 ธันวาคม 2565 เวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุมจามจุรี 1 เดอะแกรนด์ จามจุรี รีสอร์ท อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธานการจัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ระหว่างหน่วยงานในจังหวัด และคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา เพื่อดำเนินงาน การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และเสริมสร้างการเท่าทันสื่อสำหรับเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน โดยมี ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช ผู้แทนคณะทำงานเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อ ภายใต้คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา นางมิ่งขวัญ วีระชาติ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลำพูน หัวหน้าส่วนราชการ ภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมในพิธี
                 พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลำพูน กล่าวว่า การขับเคลื่อนลำพูนสู่เมืองรู้เท่าทันสื่อ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความตระหนักสาธารณะเกี่ยวกับความสำคัญของการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และการรู้เท่าทันสื่อในเด็กและเยาวชน ในพื้นที่จังหวัดลำพูน เพื่อยกระดับให้การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และการรู้เท่าทันสื่อในเด็กและเยาวชน เป็นวาระสำคัญเร่งด่วนของพื้นที่จังหวัดลำพูน เพื่อประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และการรู้เท่าทันสื่อในเด็กและเยาวชน เพื่อจัดททำข้อเสนอเชิงนโยบาย และแนวทางการปฏิบัติงานระดับพื้นที่ ในการร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และการรู้เท่าทันสื่อในเด็กและเยาวชน สำหรับวันนี้มีหน่วยงาน องค์กรที่ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ และประกาศเจตนารมณ์ จำนวน 24 หน่วยงาน ซึ่งถือเป็นก้าวแรก ที่สำคัญที่ทุกหน่วยงานและทุกภาคส่วน ที่เข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์จะได้ยกระดับการปฏิบัติงานในประเด็นรู้เท่าทันสื่อให้เป็นวาระสำคัญของหน่วยงานและของจังหวัด เพื่อสร้างสังคมคุณภาพแก่จังหวัดลำพูน
                 ด้าน ผู้แทนคณะทำงานเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อฯ วุฒิสภา กล่าวว่า คณะกรรมาธิการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรีผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนของปัญหาภัยออนไลน์ที่กระทบต่อเด็กและเยาวชน ซึ่งปัจจุบันได้ทวีความรุนแรงอย่างกว้างขวาง ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพกาย จิตใจ ส่งผลกระทบด้านลบต่อพัฒนาการทางสติปัญญา และก่อให้เกิดปัญหาสังคมและอาชญากรรมตามมา จึงได้มีการแต่งตั้งคณะททำงานเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ในเด็กและเยาวชน เพื่อทำหน้าที่พิจารณา ศึกษาและจัดทำรายงานเกี่ยวกับการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ในเด็กและเยาวชน ตลอดจนปัญหาและอุปสรรค รวมถึงข้อเสนอแนะด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเสนอต่อวุฒิสภา โดยผลการศึกษาได้มีแนวทางและข้อเสนอแนะ ในการแก้ไขปัญหาเพื่อสร้างสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสำหรับเด็กและเยาวชน ตามมติการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2564  คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมฯ ได้เล็งเห็นว่าจังหวัดลำพูนเป็นจังหวัดที่มีการขับเคลื่อนงานด้านสังคมอย่างเข้มแข็งและมีความต่อเนื่อง มีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมที่เข้มแข็ง เหมาะสมกับการเป็นจังหวัดนำร่องในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกในระดับพื้นที่ในประเด็นการใช้สื่อออนไลน์ในเด็กและเยาวชน ลำพูนยังเป็นหนึ่งใน 20 จังหวัดต้นแบบที่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากกรมกิจการเด็กและเยาวชนให้เครือข่ายเด็กและเยาวชนผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จึงมีความเหมาะสมด้วยประการทั้งปวง ที่จะขับเคลื่อน “ลำพูนสู่เมืองรู้เท่าทันสื่อ”
               ด้าน ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน กล่าวว่า ปัจจุบันสังคมไทยส่วนใหญ่ขับเคลื่อนด้วยระบบออนไลน์ โดยในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมดิจิทัลอย่างกะทันหันและหลีกเลี่ยงไม่ได้ มีการพัฒนาของเทคโนโลยี และเข้าถึงประชาชนในทุกช่วงวัยอย่างก้าวกระโดด ทั้งเพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้การช่วยเหลือสนับสนุนและการเข้าถึงสื่อออนไลน์ ทำให้ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ได้เผชิญกับภัยที่แฝงมากับโลกดิจิทัล อาทิ ข่าวปลอม การถูกขโมยตัวตน การกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ การคุกคามทางเพศ โรคที่เกิดจากการใช้สื่อโซเซียลมากเกินไป ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นกับประชาชนทุกเพศ ทุกช่วงวัย โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน การขาดสื่อคุณภาพดี พ่อแม่ผู้ปกครองและโรงเรียน ขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลบุตรหลานที่ใช้สื่อ ส่งผลกระทบในทางลบที่เกิดกับเด็กและเยาวชน ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ และการดำเนินชีวิตตามปกติ
                จังหวัดลำพูนซึ่งมีความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน ทั้งเครือข่ายการทำงานที่เข้มแข็ง ครอบคลุมภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม พร้อมที่จะขับเคลื่อนสู่จังหวัดรู้เท่าทันสื่อ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์การพัฒนาจังหวัดลำพูน “เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บนความพอเพียง” โดยสอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดลำพูน ข้อ 1 เมืองแห่งวัฒนธรรมอัตลักษณ์วิถีและท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และ ยุทธศาสตร์ ข้อ 4 เมืองแห่งความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
                ทั้งนี้ ขอให้ทุกหน่วยงานตระหนักร่วมกันถึงความสำคัญของการสร้างสังคม รู้เท่าทันสื่อ และการพัฒนาทักษะของเด็กและเยาวชนในจังหวัดลำพูน ให้มีภูมิคุ้มกันทางสังคมเป็นพลเมืองคุณภาพมีทักษะในการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 จึงได้ร่วมกันกำหนดแนวทางในการดำเนินงานขับเคลื่อน จังหวัดลำพูน “ลำพูน สู่เมืองรู้เท่าทันสื่อ” ดังนี้ 1. ด้านพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ของเด็ก เยาวชน และประชาชน ในจังหวัดลำพูน 2. ด้านส่งเสริม สนับสนุนงานวิชาการ 3. ด้านการพัฒนาระบบกลไกสื่อสร้างสรรค์แบบบูรณาการ 4. ด้านสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในจังหวัดลำพูน จังหวัดลำพูน โดยคณะทำงานดำเนินงานการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสำหรับเด็กและเยาวชน จังหวัดลำพูน จึงมีความประสงค์จะลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ หน่วยงาน องค์กร ภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อขับเคลื่อน “จังหวัดลำพูน สู่เมืองรู้เท่าทันสื่อ” ต่อไป.

 

推荐新闻
ข่าวประชาสัมพันธ์

วันที่ 1 พ.ย. 2567, 09:49

        สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้พัฒนาแอปพลิเคชั่น "จันทรา"  เพื่อเป็นช่องทางใ...

继续阅读
ข่าวกิจกรรมสำคัญจังหวัด

วันที่ 24 ต.ค. 2567, 15:28

            จังหวัดลำพูน จัดกิจกรรมพิธีพวงมาลา วันปิยมหาราช เนื่อ...

继续阅读
ข่าวกิจกรรมสำคัญจังหวัด

วันที่ 17 ต.ค. 2567, 09:43

          จังหวัดลำพูน จัดพิธีวางพวงมาลา เนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช&r...

继续阅读
ข่าวกิจกรรมสำคัญจังหวัด

วันที่ 17 ต.ค. 2567, 09:40

               พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจ...

继续阅读

有趣的链接

旅游地图

ศาลากลางจังหวัดลำพูน ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดลำพูน ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ เชียงใหม่-ลำปาง ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน โทร / โทรสาร 05351-1000 E-mail : [email protected]