( วันที่ 21 มิถุนายน 2566 ) นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน พร้อมด้วย นางดวงกมล ยิ้มละมัย ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดลำพูน นายรุ่งโรจน์ สุนทร ท้องถิ่นจังหวัดลำพูน ร่วมพิธีประกาศความสำเร็จ ภายใต้ชื่องาน "กระทรวงมหาดำทยประกาศความสำเร็จการจัดการขยะอาหารจากครัวเรือน เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และบรรลุเป้าหมายประเทศไทยที่ยั่งยืน ( MOI's Success on Food Waste Management for Clemate Acction and a Commmitment to Sustainable Thailand )" โดยมีนายกฤษณ์ จิตต์แจ้ง กรรมการผู้จัดการ บมจ.ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) คุนกีต้า ซับบระวาล ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย พร้อมคณะผู้แทนหน่วยงานใน UN Thailand ผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย เข้าร่วมงาน ที่ห้องประชุมราชบพิธ กระทรวงมหาดไทย
เนื่องด้วย KBANK ประกาศจุดยืนเป็นสถาบันการเงินและผู้ให้บริการทางการเงินรายแรกของประเทศไทย ที่ขับเคลื่อนการคัดแยกขยะและจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน สามารถแปลงให้กลายเป็นทุนกลับคืนสู่หมู่บ้าน/ชุมชนได้ ในราคา 260 บาท/ตัน ในเฟสแรก ซึ่งโครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนใช้เวลาในการเดินทางมาเกือบ 10 ปีแล้ว
โดยครั้งแรกเกิดขึ้นที่จังหวัดลำพูนมีการคัดแยกขยะในทุกกิจกรรมของชีวิต แม้แต่งานทำบุญ จะไม่มีอาหารตั้งโต๊ะ แต่เป็นบุฟเฟ่ต์เป็นหม้อ ๆ ใครจะทานเท่าไหร่ก็ไปเติมตักเอา แล้วเศษอาหารที่เป็นขยะเปียก หรือเศษใบไม้ ก็มีการคัดแยก เพื่อที่จะทำให้ลูกหลานไม่เจ็บไข้ได้ป่วยจากไข้ซิก้าอันเกิดจากยุงที่มีแหล่งเพาะพันธุ์จากขยะเน่าเหม็น โดยการจัดการขยะในตอนนั้นใช้ “เสวียน” เป็นหลัก เป็นถังขยะเปียกระบบเปิด จึงได้มาช่วยกันคิดออกแบบจนกลายเป็น “ถังขยะเปียกลดโลกร้อน” และหลังจากนั้นก็ได้ขับเคลื่อนต่อมาโดยโชคดีที่มีภาคีเครือข่าย คือ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) โดยมี ดร.ประเสริฐสุข เพฑูรย์สิทธิชัย เป็นผู้อำนวยการในขณะนั้น รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจาก ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อนุญาตให้ ศาสตราจารย์ ดร.ชนาธิป ผาริโน จากภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้ามาช่วยในเรื่องการรับรองระเบียบวิธีการวิจัย (Methodology) ในการบริหารจัดการขยะของถังขยะเปียกลดโลกร้อน และส่งให้ อบก. รับรองคิดเป็นค่าคาร์บอนเครดิตร่วมกับหน่วยงานภายนอก”
จากจุดเริ่มต้นในครั้งนั้น จึงเกิดเป็นความต่อเนื่อง จนมาถึงการขับเคลื่อนที่มีอุดมการณ์เดียวกับองค์การสหประชาชาติตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (UN SDGs) คือ การรักษาโลกใบเดียวนี้ให้มีอายุยืนยาว ด้วยการทำให้ประชาชนตื่นตัว ลุกขึ้นมาทำให้การใช้ชีวิตของตัวเองเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ระบบนิเวศ สภาวะแวดล้อมเหมาะกับลูกหลาน เพื่อให้สามารถอยู่อาศัยได้อย่างมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี
และในครั้งนี้จังหวัดมีนำร่องทั้ง 4 จังหวัด คือ จังหวัดลำพูน สมุทรสงคราม เลย และจังหวัดอำนาจเจริญ ได้ประกาศความสำเร็จ และในอนาคตจะมีอีก 22 จังหวัด รวมเป็น 26 จังหวัด ซึ่งจะได้ร่วมประกาศความสำเร็จ ปริมาณคาร์บอนเครดิต ที่เราจัดเก็บได้มากกว่า 2 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
วันที่ 13 ม.ค. 2568, 15:51
นายอำเภอเมืองลำพูน ส่งทีมลงพื้นที่แจ้งเตือนห้ามเผาในที่โล่งหากฝ่าฝืนจะต้องดำเนินคดี...
วันที่ 13 ม.ค. 2568, 09:09
รองผู้ว่าฯ ลำพูน นำพุทธศาสนิกชนชาวลำพูน ร่วมสืบฮีต สานฮอย ประเพณีล้านนา "ตานหลัวหิงไฟพระเจ้าและตานข้าวใหม่ปู่จาพระธาตุ...
วันที่ 13 ม.ค. 2568, 09:07
ผู้ว่าฯ ลำพูน ประชุมด่วนแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า และฝุ่นละออง pm 2.5 หลังจากมีรายงานปริมาณค่าฝุ่นละออง pm2.5 มีแนวโน้มเ...
วันที่ 13 ม.ค. 2568, 09:06
พ่อเมืองลำพูน เปิดงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 ณ ศูนย์การค้าแจ่มฟ้าช้อปปิ้งมอลล์ ลำพูน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจก...